อินโฟกราฟิก: 15 ปีผ่านไปคอร์รัปชันในโรงเรียนเปลี่ยนไปอย่างไร

Knowledge Farm – ฟาร์มรู้สู่สังคม ชวนมาสำรวจการคอร์รัปชันในโรงเรียนผ่านอินโฟกราฟิก โดยใช้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากงานวิจัย ‘คอร์รัปชันในระบบราชการไทย: การสำรวจทัศนคติ ประสบการณ์ของหัวหน้าครัวเรือน’ โดย ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

 

 

จากปี 2542-2557 สถานการณ์คอร์รัปชันในโรงเรียนดูเหมือนจะดีขึ้น จำนวนครัวเรือนที่ต้องจ่ายเงินแป๊ะเจี๊ยะ (การจ่ายเพื่อให้ได้สิทธิเข้าเรียน) ลดลง เช่นเดียวกับมูลค่าเฉลี่ยของเงินแป๊ะเจี๊ยะที่แต่ละครัวเรือนต้องจ่ายก็ลดลงด้วย

แต่เมื่อพิจารณาถึง “เงินพิเศษ” (ที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายปกติ เช่น เงินช่วยกิจกรรมของทางโรงเรียน ค่าเสื้อกีฬา ค่าหนังสือ  ฯลฯ) ที่ครัวเรือนต้องจ่าย แม้ว่าครัวเรือนที่ต้องจ่ายเงินพิเศษมีจำนวนลดลง แต่มูลค่าเฉลี่ยที่แต่ละครัวเรือนต้องจ่ายกลับสูงขึ้น

นอกจากนั้น งานวิจัยพบว่า ครัวเรือนรวยมีแนวโน้มที่จะคอร์รัปชันในโรงเรียนมากกว่าครัวเรือนจน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินแป๊ะเจี๊ยะ หรือการจ่ายเงินพิเศษก็ตาม น่าคิดว่าแนวโน้มเช่นนี้จะส่งผลให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายิ่งถ่างกว้างขึ้นหรือไม่อย่างไร

 

อ่านงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ที่นี่